ฝุ่นละอองในอากาศมีอยู่หลายชนิดด้วยกันอย่างฝุ่นละออง PM10 หรือฝุ่นละอองขนาดใหญ่ซึ่งมีอนุภาคใหญ่กว่า ๑๐ ไมครอน ฝุ่นละอองชนิดนี้จะติดอยู่บริเวณโพรงจมูกและปากเท่านั้น ไม่สามารถผ่านเข้าไปถึงหลอดลมของเราได้ ทว่าฝุ่นละอองชนิดละเอียดที่มีอนุภาคเล็กกว่า ๒.๕ ไมครอน หรือที่เรียกกันว่า PM2.5 ด้วยความจิ๋วระดับนี้ทำให้มันเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่สามารถผ่านเข้าขนจมูก โพรงจมูก ลำคอ หลอดลมใหญ่จนกระทั่งหลุดเข้าไปในถุงลมและปอดได้ง่ายๆ ก่ออันตรายต่อสุขภาพได้หลายโรค ดังนี้
๑) ก่อให้เกิดอาการไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ มีเสมหะ
๒) ตาแดง ตาแห้ง เมื่อฝุ่นละอองขนาดเล็กเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา/กระจกตา ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ตาแดง คันตา เปลือกตาบวม ตาแห้ง รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ตา เช่น ตากุ้งยิง
๓) ทำลายระบบประสาท ทำให้เป็นอัมพาต จากสารปรอทที่อยู่ใน PM2.5 ซึ่งมาจากกระบวนการเผาไหม้น้ำมันและถ่านหิน
๔) โรคผิวหนัง ภูมิแพ้ ไซนัส หายใจลำบาก โดยมีสารหนูเป็นสาเหตุของอาการ โดยสารหนูมักเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม การทำเหมือง การทำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงยาฆ่าแมลง หากร่างกายมีการสะสมของสารหนูเป็นจำนวนมาก จะมีอาการมึน ตัวชา อยากอาเจียน ร้ายแรงถึงขั้นระบบประสาทต่างๆ ในร่างกายถูกทำลาย โดยเฉพาะระบบประสาทการทำงานของปอด นอกจากนี้ยังมีแคดเมียม ซึ่งเป็นโลหะหนักที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมประเภทเหมืองแร่ สังกะสี ทองแดง และตะกั่ว สามารถกัดส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ผิวหนัง ปอด กระดูก ให้เสียหายได้เช่นกัน
เมื่อฝุ่น PM2.5 เข้าสู่ร่างกายจะการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ซึ่งส่งผลต่อสมองและระบบประสาท ทำให้เกิดอาการอ่อนล้า หงุดหงิด และวิตกกังวล นำไปสู่ปัญหานอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิทซึ่งยิ่งกระตุ้นภาวะซึมเศร้าในคนที่ป่วยอยู่แล้ว
โดยเฉพาะมะเร็งในระบบทางเดินหายใจ เพราะใน PM2.5 มีสาร P-A-Hs ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์จากท่อไอเสียรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ไปจนถึงควันบุหรี่